ระบบไหลเวียน หรือ
ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น
กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน
และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค
รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล
มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด
และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น
ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด
เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง
โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ
น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด
หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง
ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง
ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง
มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด
คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย
แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม
ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้
ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน
ระบบการไหลเวียนแบบเปิด (opend circulatory system) พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะไฟลัมอาร์โทรโพดา และไฟลัมมอลลัสกา ระบบนี้เลือดจะไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่จะออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่าฮีโมซีล (hemocoel) อาจมีหัวใจหนึ่งดวงหรือมากกว่า ทิศทางการไหลของเลือดเริ่มจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล เนื้อเยื่อและเซลล์จะได้รับอาหารและก๊าซจากเลือดที่อยู่ในช่องว่างนี้ เมื่อหัวใจคลายตัว เลือดส่วนหนึ่งจะไหลจากฮีโมซีลเข้าเส้นเลือดกลับหัวใจ
ระบบไหลเวียนเลือดแบบปิด
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบไหลเวียนแบบนี้
นอกจากนี้ ไส้เดือนดินและหมึกก็ยังมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบนี้อีกด้วย ระบบนี้
เลือดจะไม่ไหลออกไปนอกหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปด้วยอาเทอรี่ เวนและหลอดเลือดฝอย
ระบบไหลเวียนโลหิตในปลาเป็นระบบไหลเวียนที่มีทิศทางเดียวคือหัวใจสูบฉีดเลือดไปที่เส้นเลือดฝอยที่เหงือก
หัวใจปลามีสองห้องและการไหลเวียนของเลือดมีทิศทางเดียวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีระบบนี้เช่นกัน
แต่หัวใจของสัตว์สองชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ
3
ห้องส่วนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีการแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างเลือดแดงกับเลือดดำ
โดยแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง หัวใจเต้น 72 ครั้งต่อนาที
หัวใจ (Heart
)
หัวใจ
(Heart)
เป็นอวัยวะที่รับผิดชอบหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปยังอวัยวะอื่น
ๆ ในร่างกายอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง หัวใจของมนุษย์จะอยู่บริเวณช่องอกค่อนไปทางซ้าย
แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ด้านบน 2 ห้อง และด้านล่างอีก 2 ห้อง ทำหน้าที่
สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
โดยทำให้เกิดความดันเลือดในหลอดเลือดแดง
เพื่อให้เลือดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทั่วถึงส่วนหัวใจแต่ละห้องมีหน้าที่
ดังนี้
- หัวใจห้องบนขวา ทำหน้าที่รับเลือดจากหลอดเลือดดำที่ส่งเลือดมาจากร่างกายช่วงบนและช่วงล่าง
- หัวใจห้องล่างขวา ตำแหน่งของหัวใจห้องนี้จะอยู่ด้านหน้าสุดของหัวใจทำหน้าที่รับเลือดต่อจากหัวใจห้องบนขวาและส่งเลือดไปยังปอดผ่านลิ้นหัวใจและหลอดเลือดแดง
- หัวใจห้องบนซ้าย ตำแหน่งของห้องหัวใจบนซ้ายจะอยู่ด้านหลังสุดและเป็นห้องหัวใจที่มีขนาดเล็กที่สุด ด้วยเมื่อเทียบกับห้องหัวใจอื่น ๆ
หัวใจห้องบนซ้ายจะคอยรับเลือดที่มีออกซิเจนจากปอดซึ่งส่งมาทางหลอดเลือดแดง
-หัวใจห้องล่างซ้ายห้องหัวใจที่มีผนังหัวใจหนาที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดด้วยทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่ออกซิเจนซึ่งได้รับมาจากหัวใจห้องบนซ้ายไปยังส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย
หลอดเลือด
ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ
ทั่วร่างกาย
และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ
หลอดเลือดในร่างกายมี
3 ชนิด
1. หลอดเลือดแดง
(artery)
เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดีจากหัวใจไปสู่เซลล์ต่างๆ
ของร่างกายหลอดเลือดแดงมีผนังหนาแข็งแรงและไม่มีลิ้นกั้นภายในเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูงหรือเรียกว่า“
เลือดแดง ”ยกเว้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังปอดภายในเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากหรือเรียกว่า
“ เลือดดำ
2. หลอดเลือดดำ
(vein)
เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดำจากส่วนต่างๆ
ของร่างกายเข้าสู่หัวใจหลอดเลือดดมีผนังบางกว่าหลอดเลือดแดง
มีลิ้นกั้นภายในเพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เลือดที่ไหลอยู่ภายในหลอดเลือดจะเป็นเลือดที่มีปริมาแก๊สออกซิเจนต่ำ
ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
3. หลอดเลือดฝอย
(capillary)
เป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่าวหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ
ของร่างกาย มีขนาดเล็กและละเอียดเป็นฝอยและมีผนังบางมากเป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่างๆ
ระหว่างเลือดกับเซลล์
เลือด (Blood)
เลือด (Blood) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ส่วนที่เป็นของเหลว 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรียกว่า “ น้ำเลือดหรือพลาสมา
(plasma)”และส่วนที่ เป็นของแข็งมี 45
เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด
น้ำเลือดหรือพลาสมา
ประกอบด้วยน้ำประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์
ทำหน้าที่ลำเลียงเอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามินและ
สารอาหารประเภทต่างๆที่ผ่านการย่อยอาหารมาแล้วไปให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์เช่นยูเรียแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย
เซลล์เม็ดเลือด
-เซลล์เม็ดเลือดแดง (red
blood cell) มีลักษณะค่อนข้างกลมตรงกลางจะเว้าเข้าหากัน(คล้ายขนมโดนัท)
เนื่องจากไม่มีนิวเคลียส องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า “
ฮีโมโกลบิน ” ซึ่งมีสมบัติในการรวมตัวกับแก๊สต่างๆ
ได้ดี เช่น แก๊สออกซิเจนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
หน้าที่ แลกเปลี่ยนแก๊ส
โดยจะลำเลียงแกสออกซิเจน ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
และลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากส่วนต่างๆ
ของร่างกายกลับไปที่ปอดแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง คือ ไขกระดูก
ผู้ชายจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้หญิง เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 110-120
วัน หลังจากนั้นจะถูกนำไปทำลายที่ตับและม้าม
-เซลล์เม็ดเลือดขาว (white
blood cell) มีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่มีสีและมีนิวเคลียส
เม็ด เลือดขาวในร่างกายมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
หน้าที่ ทำลายเชื้อโรคหรือสารแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกายแหล่งที่สร้างเม็ดเลือดขาว
คือ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง มีอายุประมาณ 7-14 วัน
-เกล็ดเลือดหรือแผ่นเลือด
(blood platelet)ทไม่ใช่เซลล์แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ซึ่งมีรุปร่างกลมรีและแบนเกล็ดเลือดมีอายุประมาณ4วัน
หน้าที่ ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีการไหลข องเลือดจากหลอดเลือดออกสู่ภายนอก
วงจรการไหลเวียนเลือด
วงจรการไหลเวียนเลือด
เริ่มจากหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงจากปอดแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายแล้วบีบตัวดันเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายและเปลี่ยนเป็นเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงหรือเลือดดำไหลผ่านหลอดเลือดดำหัวใจห้องบนขวาแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวาแล้วกลับเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแก๊สออกซิเจนเป็นวัฎจักรการหมุนเวียนเลือดในร่างกายเช่นนี้ตลอดไป
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/
https://th.wikipedia.org/wiki/